ชิปปิ้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการส่งออกจีนหลังวิกฤต

ชิปปิ้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการส่งออกจีนหลังวิกฤต - bulllogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการส่งออกจีนหลังวิกฤต Untitled 1 768x402

ชิปปิ้ง ว่ากันว่า ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอ เช่นเดียวกับท้องฟ้าหลังสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลาย ก็ดูเหมือนเศรษฐกิจโลกและกำลังใจของผู้ประกอบธุรกิจจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ

จากผลสำรวจจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ผู้ให้บริการข่าวและข้อมูลด้านการเงิน รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวในไตรมาสที่สอง พร้อมทั้งตัวชี้วัดยืนยันว่าเศรษฐกิจจีนจะกลับมาเติบโตจากภาวะถดถอยที่เกิดจากโคโรน่าไวรัส

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจีน ขยายตัว 2.2% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาหรือตั้งแต่เมษายน-มิถุนายน 2020 ตามการประมาณการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ สำหรับไตรมาสแรกนั้น พบว่าลดลงเป็นประวัติศาสตร์หรือราว 6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 

ข้อมูลจาก Caixin PMI ดัชนีบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ แสดงสัญญาณให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและการเติบโตของ E-Commerce ยังได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2020 เป็นต้นมา เศรษฐกิจจีนเริ่มมีการฟื้นฟู ทั้งภาคการผลิตและการส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ทางการเเพทย์พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว กระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในจีนและประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ สำหรับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แนวโน้มทางเศรษฐกิจเริ่มสดใสจนเพิ่มขึ้นเป็น 4.8% จากปีก่อนหน้า ยอดการค้าปลีกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่

ในขณะที่การฟื้นตัวอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังว่าจะเกิดการระบาดเป็นครั้งสอง ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟู และทำให้เกิดข้อจำกัดซ้ำอีกครั้ง Lu Ting หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จีนที่ Nomura International Ltd ในฮ่องกงกล่าวไว้ว่า “มันเร็วเกินไปที่ปักกิ่งจะมีท่าทีผ่อนคลาย” ทางด้าน Shaun Roache หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ S&P Global Ratings กล่าวว่า “บทเรียนที่กำลังเผชิญกับการกักกันไวรัสนั้น ไม่เพียงพอที่จะผลักดันการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และอาจต้องรอการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์ที่ยั่งยืน เพื่อกลับสู่ธุรกิจตามปกติอย่างแท้จริง”

โลจิสติกส์ยังคงดำเนินต่อและสามารถหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป
ความต้องการ Pent-Up Demand (ความต้องการของสินค้าและบริการหลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากภาวะวิกฤต) ที่สนับสนุนการเติบโต และการส่งออก อาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการผลิตสินค้าสามารถเกิดขึ้นในต่างประเทศ ส่งผลใหห้ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีนและการลงทุนด้านการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก อาจเป็นเรื่องท้าทายที่จะปลีกตัวออกจากสภาวะถดถอยเช่นนี้

ในกรณีที่ไม่มีความต้องการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ การปลดล็อคดาวน์ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศได้ดีที่สุด อย่างน้อยจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการค้าภายในมากกว่าภาคการส่งออก ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมทางธุรกิจบริการจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในจีนตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงขณะนี้ โดยรัฐบาลจีนได้หันไปลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง(ชิปปิ้ง)เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับมาสดใสในเร็ววัน

ที่มาข้อมูล : https://www.bloombergquint.com/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *