ชิปปิ้ง การคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลัง หรือ Demand Forecasting มีบทบาทสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลังของธุรกิจ เพราะหากผู้ประกอบการสามารถทำนายความต้องการของผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้าในอนาคตได้ถูกทาง ย่อมเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและทำกำไรได้สูงสุด
อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังที่แม่นยำนั้น ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จเสมอไป แต่เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจไปได้สวยมากกว่า และต่อไปนี้คือเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการพยากรณ์ความต้องการสินค้าคงคลัง ที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ
ความหมายของ Demand Forecasting
Demand Forecasting คือการคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังเป็นกระบวนการทำนายความต้องการของลูกค้าสำหรับรายการสินค้าคงคลังในช่วงเวลาที่กำหนด การคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังที่แม่นยำ มีส่วนช่วยให้บริษัท ไม่ต้องสต็อกของมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งแนวโน้มของข้อมูลในอดีตและการทำความเข้าใจตลาดว่า Demand สามารถผันผวนได้อย่างไร จะถูกนำมาใช้เพื่อคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลัง อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้คือ 7 เทคนิค Demand Forecasting ที่ธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้
1. วิเคราะห์จากข้อมูลของลูกค้าในอดีต :
หากคุณวิเคราะห์ข้อมูลการขายในอดีตของทุกผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้าได้ คุณจะพบถึงความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลูกค้าบางรายอาจมีความต้องการสินค้าสูงอย่างต่อเนื่อง หรือ บางรายอาจมีความต้องการเป็นระยะๆ หรือลดลง เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่า ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2.แนวโน้มความต้องการสินค้าคงคลัง :
ความต้องการสำหรับรายการสินค้าคงคลัง อาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสแฟชั่น ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจและกฎหมายที่ส่งผลต่อความต้องการของสินค้า เพราะฉะนั้น จงมั่นใจว่าคุณได้บริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับแนวโน้มดังกล่าวด้วยข้อมูลของลูกค้าในอดีต
3. คาดการณ์ความต้องการตามฤดูกาล :
ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก หรือชิปปิ้งเกือบทุกรายคาดหวังว่าจะได้เห็นความต้องการที่ผันผวนตามฤดูกาลสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน รวมไปถึงเทศกาลวันหยุด และประเพณีประจำปี ล้วนมีอิทธิพลต่อความต้องการของสินค้าแทบทั้งสิ้น การทำความเข้าใจถึงปัจจัยตามฤดูกาล ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของลูกค้านั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการวางแผนสั่งซื้อสินค้า หรือชิปปิ้งได้อย่างเหมาะสมสำหรับเทศกาลอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
4. ปัจจัยการผลิตเชิงคุณภาพ :
แม้ว่าข้อมูลในอดีตจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับความแม่นยำในการคาดการณ์ความต้องการในอนาคต แต่เจ้าของกิจการก็จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพเพิ่มเติม เช่น ทำบัญชีสำหรับข้อมูลในอนาคตและปัจจัยส่งเสริมการตลาด เช่น การส่งเสริมการขาย และกิจกรรมของคู่แข่ง
5. เผื่อการพยากรณ์ที่อาจผิดพลาด :
อย่าลืมว่า การคาดการณ์ความต้องการของคุณนั้นอาจจะไม่แม่นยำ 100% ดังนั้นหากคุณสามารถคำนวณระดับของข้อผิดพลาดในการคาดการณ์ความต้องการก่อนหน้าได้ จะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยในการสต็อกสินค้าเพื่อครอบคลุมช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนได้ดียิ่งขึ้น
6. ช่วงเวลาการพยากรณ์ความต้องการ :
ช่วงเวลาที่เลือกสำหรับการคาดการณ์ความต้องการ มีผลกระทบโดยตรงต่อความแม่นยำของการคาดการณ์ เช่น การคาดการณ์การความต้องการสินค้าคงคลังในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าย่อมมีแนวโน้มที่จะแม่นยำกว่าการคาดการณ์ในอีก 12 เดือน หากตลาดมีความผันผวนหรือรูปแบบความต้องการไม่แน่นอน คุณจะต้องทบทวนการคาดการณ์อยู่เสมอหากคุณเริ่มประสบกับปัญหาสินค้าหมดสต็อกหรือมากเกินไป คุณอาจต้องปรับช่วงเวลาการพยากรณ์ของคุณใหม่
7. พิจารณา Software เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง : การคาดการณ์ความต้องการสินค้าคงคลังที่แม่นยำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณต้องการติดตามแต่ละ SKU (Stock Keeping Unit : หน่วยวัดประเภทสินค้าที่เล็กที่สุดในระบบคลังสินค้า) Software การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง สามารถนำเสนอวิธีการพยากรณ์ที่รวดเร็วและแม่นยำ ไม่ว่าจะซับซ้อนหรือแตกต่างกันตามความต้องการ ในขณะที่ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP : Enterprise Resource Planning) ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS : Warehouse Management System ) และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอการคาดการณ์ได้ในระดับหนึ่ง การลงทุนในซอฟต์แวร์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลังสามารถรองรับความต้องการการพยากรณ์ความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น
อ้างอิงข้อมูล : https://www.eazystock.com/uk/blog-uk/8-best-inventory-demand-forecasting-techniques/