ชิปปิ้ง ไขความลับ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งขาเข้าและขาออกที่ยั่งยืน

ชิปปิ้ง ไขความลับ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งขาเข้าและขาออกที่ยั่งยืน - bulllogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ไขความลับ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งขาเข้าและขาออกที่ยั่งยืน inbound 768x402

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโลจิสติสก์ หมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ารายบุคคลไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งกิจกรรมโลจิสติกส์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound) และโลจิสติกส์ขาออก (Outbound)

โลจิสติกส์ขาเข้าและขาออก เป็นองค์ประกอบสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ โดยกระบวนการโลจิสติกส์ขาเข้าที่แข็งแกร่งช่วยให้ธุรกิจทำงานกับซัพพลายเออร์ที่ดีที่สุด ในขณะที่กระบวนการขาออกที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและผลผลิตโดยรวม

โลจิสติกขาเข้า (Inbound Logistics)
เป็นกระบวนการโลจิสติกส์ ที่มุ่งเน้นการจัดซื้อและกำหนดเวลาการนำเข้าของวัสดุจากซัพพลายเออร์ นี่คือขั้นตอนแรกของห่วงโซ่โลจิสติกส์ รวมถึงการจัดหาการขนส่ง การรับ และการเก็บรักษาสินค้าจากผู้ขายไปยังหน่วยการผลิต นอกจากนี้ ยังรวมถึงการควบคุมสต็อคและการตรวจสอบเพื่อไม่ให้สิ้นเปลือง

โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics)
การขนส่งขาออก หมายถึง การเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงานไปยังผู้ใช้ปลายทาง กิจกรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย และการบริการลูกค้า การรวบรวม จัดเก็บ และกระจายสินค้าในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเลือกวิธีขนส่ง และจัดการการขนส่ง เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างการขนส่งขาเข้าและขาออก
โลจิสติกส์ขาเข้า : ครอบคลุมการขนส่งและการเก็บรักษาสินค้าที่เข้ามาในคลังสินค้า โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้จะรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับซัพพลายเออร์ของสินค้าดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป อาจรวมทุกอย่างตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงเครื่องมือโลจิสติกส์

ด้านโลจิสติกส์ขาออก : หมายถึงการขนส่งสินค้าออกจากคลังสินค้า(ชิปปิ้ง) เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปลายทางที่พร้อมใช้งานโดยมองที่ลูกค้าเป็นหลัก โดยทั่วไป สิ่งนี้จะครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้าและลูกค้า

การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการโลจิสติกส์ขาเข้า
สร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับซัพพลายเออร์เพื่อกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน รวมทั้งออกแบบเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างโรงงานผู้ผลิตสู่คลังผลิต รวมถึงประเภทของยานพาหนะและตัวแปรสำหรับกำหนดเส้นทางที่สำคัญ เลือกใช้คู่มือเทคโนโลยีการจัดเส้นทางดิจิตอลซึ่งให้ข้อมูลตามเวลาจริง

พัฒนาและใช้มาตรฐานการปฏิบัติตามขาเข้าของผู้ขาย (VICS ย่อมาจาก Vendor Inbound Compliance Standards) หากคุณมีผู้จำหน่ายหลายราย ที่เสนอบริการให้กับโรงงานของคุณ คุณจำเป็นต้องจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ โดย VICS จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จของการขนส่งขาเข้า อีกทั้งยังส่งเสริมการแข่งขันระหว่างซัพพลายเออร์ ด้วยการใช้มาตรฐานและการลงโทษกรณีที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามนโยบาย

การใช้ระบบการจัดการการขนส่ง (TMS) ในการรับมือกับสถานการณ์ ฝ่ายจัดซื้อสามารถใช้ระบบการจัดการการขนส่ง (TMS) ที่สามารถเข้าถึงค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้าแบบ Dynamic ตามสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้คุณปรับการขนส่งขาเข้าให้เหมาะสมและจ่ายอัตราที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการโลจิสติกส์ขาออก
เจรจาต่อรองกับผู้ขนส่งสำหรับอัตราที่ดีที่สุดของข้อตกลงการจัดส่งในทุกๆ ด้านอย่างละเอียด รวมถึงอัตราค่าบริการและค่าธรรมเนียม สำรวจจุดที่มีศักยภาพของการเจรจาต่อรองหรือเริ่มกระบวนการ RFP (Request for Proposal ) เพื่อขอข้อเสนอที่ดีที่สุดจากผู้ให้บริการหลายราย

ลดต้นทุนสินค้าคงคลังเพื่อให้มีสต็อกเพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันงดเว้นการเก็บสต็อกมากเกินไป เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและตรวจสอบผลิตภัณฑ์

ใช้ Cross-Docking สำหรับในการรับ-ส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน สามารถจำกัดจำนวนเวลาที่สินค้าใช้ในคลังสินค้า จัดเรียงสินค้าที่เข้ามาก่อนที่จะโอนไปยังรถบรรทุกขาออกอย่างรวดเร็ว นอกจากการใช้พื้นที่คลังสินค้าน้อยลง ยังช่วยในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และกำจัดของที่เสียหายก่อนการจัดส่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าและโอกาสในการคืนสินค้าน้อยลง

ที่มาข้อมูล : https://www.logiwa.com/