1688 ธุรกิจที่ผู้ประกอบการรู้จักกันดี เนื่องจากปัจจุบันหลายคนหันมาทำอาชีพอิสระกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเปิดธุรกิจของตนเองหรือผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการ
สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อาจจำเป็นต้องมองหาตัวช่วยในการผลิตสินค้าและเลือกโรงงานที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ
วันนี้ Bull Logistics ได้รวบรวม 3 โรงงานที่มีความแตกต่างกัน เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกโรงงานที่ใช่ที่สุดสำหรับธุรกิจ
1. Original Equipment Manufacturer (OEM)
ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะนำไปขายเป็นแบรนด์ของตนเอง โรงงานประเภทนี้จะรับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วตราชื่อแบรนด์หรือไม่ตราชื่อแบรนด์ก็ได้ โดยใช้กระบวนการผลิตแบบโรงงานตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงเครื่องจักรต่างๆ โรงงานประเภทนี้มักเป็นโรงงานเปิดใหม่หรือโรงงานที่ไม่เน้นสร้างแบรนด์ของตนเอง แต่เน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่นที่ต้องการผลิตสินค้าในจำนวนไม่มากหรือไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง
ข้อดี
- ต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กถึงปานกลาง เพราะไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงานเองหรือไม่ต้องใช้เวลานานในการคืนทุน
- ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกต่ำ เนื่องจากไม่ต้องตั้งโรงงานเองจึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่ ทำให้ไม่มีภาระดอกเบี้ยและทุนจม
- ย้ายฐานผลิตได้ เนื่องจากไม่มีพันธะผูกพันระหว่างโรงงานและผู้จ้าง จึงสามารถย้ายหรือเปลี่ยนโรงงานผลิตได้ง่าย
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาในด้านการผลิตคอยดูแล จึงสามารถเลิกผลิต ปรับสินค้า ทำสินค้าแบบใหม่ได้ง่าย
ข้อเสีย
มีความเสี่ยงที่ความรู้ที่ใช้ในการผลิตจะรั่วไหลออกไปสู่คู่แข่ง อาจทำให้เกิดสินค้าเลียนแบบตามมา จึงเหมาะกับสินค้าทั่วไปที่ไม่มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือสินค้าที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่
2. Original Design Manufacturer (ODM)
โรงงานที่รับจ้างออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายภายใต้แบรนด์ตนเอง กล่าวคือ โรงงานมีการดีไซน์รูปแบบสินค้าและผลิตเอง แล้วนำไปเสนอขายต่อบริษัทที่มีแบรนด์อยู่แล้วหรืออาจจะออกแบบร่วมกันก็ได้ โดยสามารถออกแบบได้ทั้งแบบ Exclusive คือออกแบบให้กับลูกค้ารายเดียว หรือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการสินค้าที่ไม่ซ้ำใครเพื่อให้ได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงมีค่าออกแบบที่สูง ส่วนแบบ Non Exclusive คือเป็นการออกแบบๆ เดียวกัน แต่ให้สิทธิ์ลูกค้าหลายราย ซึ่งค่าออกแบบก็จะถูกลง
ข้อดี
- ไม่ต้องออกแบบเอง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มทำแบรนด์ของตนเองหรือผู้ที่ไม่มีทักษะในด้านการออกแบบ
- สามารถผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครได้ โดยเลือกการผลิตแบบ Exclusive
- ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตนเอง รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการผลิตคอยดูแล
- สามารถย้ายฐานผลิตได้ง่ายตามต้องการ
ข้อเสีย
อาจมีต้นทุนในการออกแบบและผลิตที่สูงกว่าโรงงานแบบอื่น เนื่องจากมีการจ้างออกแบบและผลิตร่วมด้วย
3. Original Brand Manufacturer (OBM)
โรงงานผลิตสินค้าภายใต้รูปแบบและแบรนด์สินค้าของตนเอง เพื่อผลิตและจำน่ายในปริมาณมาก เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง มีลูกค้ายอมรับในคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ซึ่งต้องการพัฒนาเป็นโรงงานของตนเองอย่างเต็มที่
ข้อดี
- มีโรงงานเป็นของตนเอง จึงสามารถผลิตสินค้าของได้ในปริมาณมาก
- ช่วยลดต้นทุนการผลิต เจ้าของแบรนด์สามารถบริหารจัดการได้เอง
- ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ รูปแบบสินค้าหรือกระบวนการทำงานอื่นๆ ได้ทุกเมื่อ
ข้อเสีย
การมีโรงงานเป็นของตนเองต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสร้างโรงงานและต้องทำทุกอย่างเอง จึงเหมาะกับแบรนด์ที่มั่นคงในด้านทุนและฐานลูกค้า เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ เครื่องจักร ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น
การเลือกโรงงานทั้ง 3 รูปแบบนั้นอาจต้องพิจารณาทั้งในด้านมาตรฐานการผลิตและคุณภาพไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งพิจารณาต้นทุนการผลิตควบคู่กันไปด้วย ซึ่งวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำมักมีการสั่งซื้อจากจีนด้วยช่องทางออนไลน์อย่าง 1688 และนำเข้าผ่านบริษัทโลจิสติกส์ เมื่อมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ก็ย่อมส่งผลต่อระบบโลจิสติกส์ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดเก็บสินค้าคงคลังและการจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ ฯลฯ เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นโลจิสติกส์รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ จึงอีกเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดในด้านต้นทุนการผลิตและเป็นสิ่งที่ช่วยให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างรอบคอบ
Bull Logistics ผู้นำด้านขนส่งสินค้าจากจีนมาไทยแบบถูกกฎหมาย เดินพิธีผ่านศุลกากรด้วยเอกสารครบถ้วน ถูกต้องและเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด เหมาะสำหรับบริษัทที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุสำหรับผลิตสินค้าจากจีนที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำโดยเฉพาะใน 1688 ที่เป็นเว็บสำหรับขายสินค้าราคาส่ง ยิ่งซื้อเยอะยิ่งได้ราคาถูก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการสร้างกำไรให้กับธุรกิจในยุคนี้