นำเข้าสินค้าจากจีน ด้วยการขนส่ง(ชิปปิ้ง) แบบไม่เต็มตู้ LCL (Less Container Load) คือการใช้พื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าร่วมกับสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นๆ
LCL เป็นบริการขนส่งในกรณีที่ผู้นำเข้ามีสินค้าจำนวนไม่มาก เหมาะสำหรับผู้นำเข้าที่ไม่ต้องการสต๊อกของจำนวนมาก หรือผู้ค้าออนไลน์ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจนำเข้าสินค้า
Bull Logistics พามาดูความหมายและข้อแตกต่างของการนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยแบบไม่เต็มตู้(LCL) และแบบเต็มตู้ (FCL) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
นำเข้าสินค้าแบบไม่เต็มตู้ LCL (Less Than Container Load)
คือ การการแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ของผู้นำเข้าหลายรายรวมกัน โดยผู้ที่ขายพื้นที่ของตู้ ส่วนมากจะเป็น Freight Forwarder ที่จะซื้อระวางเรือและตู้มาในราคาเหมา เพื่อหาลูกค้าที่ต้องการโหลดสินค้าแบบ LCL เพื่อขายต่อในรูปแบบของการค้าปลีก
ข้อดีของ LCL (Less Than Container Load)
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าระวางแบบเต็มตู้ สำหรับการขนส่งสินค้าจำนวนไม่มากหรือเป็นสินค้าใช้พื้นที่น้อย สำหรับผู้ที่ไม่มีโกดังเก็บสินค้า เงื่อนไขการขนส่งแบบ LCL ช่วยให้ผู้นำเข้า-ส่งออก สามารถนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเหมาตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ในขณะที่การส่งสินค้าครั้งละมากๆ (แต่ไม่มากพอที่จะเต็มตู้คอนเทนเนอร์) ก็สามารถส่งได้คุ้มกว่าการใช้บริการส่งทั้วไปที่มีต้นทุนสูง
ข้อเสียของ LCL (Less Than Container Load)
เมื่อสินค้ามาถึงท่าขนส่งแล้ว จะยังคงไม่สามารถเคลียร์สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรแล้วขนส่งแบบลากตู้ออกไปได้รวดเร็วเหมือน FCL เพราะผู้ให้บริการหรือการท่าเรือ จะมีกำหนดเวลาให้สำหรับการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อนำสินค้าเข้าโกดังสินค้าที่ท่าขนส่ง
ดังนั้นผู้นำเข้าแต่ละรายจะต้องติดต่อหรือเช็คเวลากับทาง Freight Forwarder หรือตัวแทนผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า-สายเรือ/สายการบิน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มีสินค้าของเราอยู่นั้น จะมีกำหนดเปิดตู้เมื่อไหร่ โดยอาจจะมีกำหนดเวลาประมาณ 3-5 วัน หลังจากเรือเข้าท่าเรือแล้ว
นำเข้าสินค้าแบบเต็มตู้ FCL (Full Container Load)
คือการเช่าตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้แบบบรรจุเต็มตู้ โดยมีเจ้าของเพียงรายเดียว สำหรับผู้ที่มีโกดังเก็บสินค้า มีการสั่งสินค้าจำนวนมาก และไม่ต้องการแชร์พื่นที่ขนส่งสินค้ากับผู้นำเข้ารายอื่นๆ
ข้อดีของ FCL (Full Container Load)
สามารถเคลียร์สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรได้รวดเร็วกว่าแบบ LCL เมื่อเคลียร์สินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถขนส่งโดยลากตู้ออกไปได้เลย เนื่องจากไม่ต้องรอกำหนดเวลาเปิดตู้แบบ LCL ไม่ต้องใช้คลังสินค้าหรือศูนย์กระจาย ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย อีกทั้งไม่ต้องแวะส่งสินค้าจุดอื่น ทำให้มีระยะทางขนส่งสั้นเนื่องจากไม่ต้องผ่านศูนย์กระจายสินค้า Container Yard (CY) จึงสามารถเลือกเส้นทางขนส่งที่สั้นได้
ข้อเสียของ FCL (Full Container Load)
อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบ LCL หากสินค้ามีปริมาณน้อยเกินไป เนื่องจากเป็นผู้สั่งสินค้าเพียงรายเดียว หากสินค้าไม่เต็มตู้ ก็อาจจะขาดทุนได้
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจากจีนโดยการขนส่งแบบ LCL หรือ FCL นั้น ผู้นำเข้าควรพิจารณา ปริมาณ และประเภทสินค้า ระยะเวลา ราคา ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้นำเข้า
Bull Logistics ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถจากจีนมาไทย บริการเดินพิธีการศุลกากร ใบขน ใบกำกับภาษี สามารถออกใบ Form E เพื่อลดภาษีนำเข้าจากจีน 0% ดูรายละเอียดวิธีส่งสินค้าและค่าบริการ