ชิปปิ้ง 5 วิธีพาธุรกิจ ฝ่าวิกฤต Covid-19

ชิปปิ้ง 5 วิธีพาธุรกิจ ฝ่าวิกฤต Covid-19-bullogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 5 วิธีพาธุรกิจ ฝ่าวิกฤต Covid-19 Untitled 1 1 768x402

ชิปปิ้ง ในขณะที่ไวรัส Coronavirus (Covid-19) กำลังขยายตัวไปทั่วทั้งภูมิภาคและธุรกิจต่างๆ  ก็กำลังดิ้นรนเพื่อจัดการกับวิกฤตครั้งใหญ่นี้  แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks Google และ Ikea ก็ได้ปิดตัวลงชั่วคราวในบางภูมิภาคเนื่องจากกังวลในความปลอดภัยของพนักงาน

ส่วนโรงงานผลิตรถยนต์เรื่อยไปจนถึงอุตสาหกรรมผลิตของเล่นในประเทศกลุ่มเสี่ยง ก็ได้ทำการปิดลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากอยู่ในภาวะที่ขาดทุนหนัก และยังไม่มีทีท่าว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้

ในหลายๆ บริษัท (โดยเฉพาะที่ปฏิบัติการในจีน) ต่างมีโอกาสที่จะเกิดการหยุดชะงักการทำงานได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ต่างเป็นสิ่งที่ไม่มีใครควบคุมได้ ที่สำคัญที่สุดคือเราจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ไม่ล้มหายตายไปเสียก่อน และต่อไปนี้คือ 5 แนวทางที่บริษัทต่างๆ ควรนำไปปรับใช้ท่ามกลางวิกฤต Coronavirus (Covid-19)

1. มีแผนป้องกันและหลีกเลี่ยงสถานการณ์วิกฤตตั้งแต่เริ่มต้น
วิกฤตการณ์หลายๆอย่างสามารถป้องกันได้ ด้วยการวางแผนการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ การตรวจสอบ และการติดตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีแผนสำรอง มีกระบวนการดำเนินงานที่เสี่ยงน้อยที่สุด และระบบการบริหารที่ดี เช่น หากคุณทำธุรกิจขายเสื้อผ้า ในช่วงเวลานี้ อาจมองหาซัพพลายเออร์จากแหล่งอื่นชั่วคราวหรือใช้วิธีลดราคาสินค้าที่ค้างสต็อก จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้า เช่น ส่งฟรี(ฟรีชิปปิ้ง) ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น และการดำเนินการตามแผนการเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้จะทำให้องค์กรก้าวผ่านวิกฤตการณ์ไปได้

2. ระวังข่าวลือและผลกระทบต่อพนักงาน
ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วช่องทางโซเชียลมีเดียที่เกี่ยวกับไวรัส Covid-19 ซึ่งองค์กรข่าวมักให้ความสนใจกับสิ่งใหม่ ๆ มากกว่าภาพรวม และบางครั้งพวกเขาก็ไม่ได้แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในขณะที่คุณรับข่าวสารล่าสุดนั้นจึงไม่ควรตื่นตระหนก ให้คิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับแหล่งที่มาของข้อมูลเสียก่อน

3. ใช้ผู้เชี่ยวชาญและคาดการณ์อย่างรอบคอบ
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด ไวรัสวิทยา สาธารณสุข โลจิสติกส์ และสาขาอื่นๆ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการตีความข้อมูลที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นที่ชัดเจนว่าความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกันไปในประเด็นสำคัญ เช่น นโยบายการกักกันเชื้อไวรัสที่เหมาะสม และผลกระทบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการระบาดของโรคแต่ละครั้งไม่สามารถคาดเดาได้ และในปัจจุบันยังคงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับผลหรืออันตรายของไวรัสอย่างต่อนี่อง

4. แก้ปัญหาทีละขั้นตอน
จากสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนสร้างปัญหารอบด้าน และทุกอย่างจะมากองรวมกันจนกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และเป็นเรื่องที่ยุ่งเหยิง ดังนั้นสิ่งที่ผู้นำสามารถทำได้ คือตั้งสติและคลี่คลายปัญหาออกมาเป็นส่วนๆ แล้วตัดสินใจดำเนินการแก้ไขไปทีละขั้นตอนตามแผนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจากแถลงการณ์ของ ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีคนที่3 ของสิงคโปร์ได้สื่อสารถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังกระทำให้ประชาชนรับรู้ทีละด้าน ไม่ว่าจะเป็นแนวทางป้องกันโรค การสืบหาผู้ที่เป็นโรค การรักษา ตลอดจนการดูแลด้านภาวะจิตใจของประชาชน ด้าน John C. Maxwell ผู้เชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำในสหรัฐอเมริกา ได้ระบุถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานของภาวะผู้นำในยามวิกฤติไว้ว่า ควรทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายและคลุมเครือ เกิดความกระจ่างเพื่อลดความซับซ้อนของสถานการณ์

5. เตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตครั้งต่อไป
Covid-19 ไม่ใช่ความท้าทายแบบครั้งเดียว เราควรคาดหวังว่าจะมีขั้นตอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคในปัจจุบันและการระบาดเพิ่มเติมในอนาคต การเตรียมการณ์และการเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤตครั้งต่อไป (หรือช่วงต่อไปของวิกฤตการณ์ปัจจุบัน) ผู้ประกอบการควรมองการณ์ไกลว่าวิกฤต Covid-19 จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจและสังคมของเราในรูปแบบที่สำคัญ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งจุดประกายความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เช่น การช็อปปิ้งออนไลน์ การศึกษาออนไลน์ และการลงทุนทางด้านสาธารณสุข เป็นต้น

ที่มาข้อมูล : https://hbr.org/2020/02/lead-your-business-through-the-coronavirus-crisis?referral=03759&cm_vc=rr_item_page.bottom